Thursday, September 6, 2012

Japan Festival

เทศกาลปีใหม่ (oshoogatsu)

เฉลิมฉลองการเิริ่มต้นปีใหม่ ช่วงปีใหม่นี้จะฉลองตั้งแต่วันที่ 1-7 มกราคม เรียกว่า "มัทสึ โนะ อุจิ" (Matsu no uchi) แต่ละครอบครัวจะทำความสะอาดตั้งแต่ปลายปีทั้งในและนอกบ้าน เพื่อให้บ้านสะอาดบริสุทธิ์ เตรียมประกอบอาหารที่นิยมรับประทานช่วงปีใหม่ ได้แก่ โมจิ(Mochi) ที่ใส่ในซุปโซนิ(Zouni) และอาหารปีใหม่เรียกว่า "โอะเซจิ เรียวหริ"(Osechi Ryouri) และถือได้ว่าเป็นวันสำคัญที่สุดของชาวญี่ปุ่น ประชาชนจะเข้าร่วมกิจกรรมประเภทต่าง ๆ และพากันอธิษฐานขอความโชคดีในช่วงเวลาของปีที่กำลังจะมาถึง

แสงของดวงอาทิตย์ในวันปีใหม่ (อาซึฮิโนเด้) เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นดินแดนแห่งศาสนาชินโต ซึ่งมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นตัวแทนเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดในจักรวาล ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าการสวดมนต์อธิษฐานในเช้าวันที่ 1 มกราคม ในขณะที่พระอาทิตย์จะเป็นการนำความโชคดีและความสุขมาให้ตลอกปีใหม่
การไปวัดครั้งแรกของปี (ฮาซึโมเด้) หลังจากนาฬิกาตีในเวลาเที่ยงคืน ถือว่าเป็นวันใหม่ของวันที่ 1 มกราคม ประชาชนจะพากันไปวัด เพื่ออธิษฐานขอให้มีสุขภาพดีและประสพความเจริญรุ่งเรือง
อาหารวันขึ้นปีใหม่ (โอเซจิ เรียวหริ) เป็นอาหารซึ่งประกอบด้วย ปลาต้ม ผสมแป้งทำเป็นก้อน (คามาโบโกะ), กุ้ง และอาหารทะเลประเภทอื่น ๆ และผักต่าง ๆ มักบรรจุในกล่องไม้ลงรักเป็นชิ้น ๆ ชนิดพิเศษ และชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทาน “โซหนิ” ซึ่งเป็นซุปใส่ขนมแป้ง หัวไชเท้า และผักอื่น ๆ เชื่อว่า จะช่วยให้อายุยืนยาวและสุขภาพดี
เงินในรูปของขวัญ (โอโทชิดามะ) ในช่วงปีใหม่ เด็ก ๆ จะได้รับจากบิดา มารดา และญาติ 

 วันเด็กผู้หญิง (Hinamatsuri)

วันเด็กผู้หญิง (Hinamatsuri ひな祭り ) ตรงกับวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี "เทศกาลฮินะ" เป็นเทศกาลฉลองของเด็กผู้หญิง หรือบางท่านอาจ เรียกว่า "เทศกาลลูกท้อ" (Momo no sekku) เป็นการอธิษฐานของพรให้เด็กผู้หญิงเติบโตมีสุขภาพที่แข็งแรงและได้มีคู้ครอง ที่ดี โดยประดับตุ๊กตาฺฮินะ (Hina-ningyou) เรียงไว้บนหิ้ง 7 ชั้น นิยมเสริฟสาเกขาว (Shirozake) ซึ่งทำจากการเหล้ากับข้าวบาเลย์ และทานขนมโมจิ (Hishimochi) หรือขนมแป้งรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กันในเทศกาลนี้ 

 วันเด็ก (Kodomo no hi 子どもの日)

 วันเด็ก หรือ เทศกาลของเด็กผู้ชาย ซึ่งตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม เป็นวันที่จัดขึ้นเพื่ออธิษฐานของความสุข มีสุขภาพดี และความสำเร็จให้กับเด็กผู้ชาย ในวันนี้ ครอบครัวบ้านไหนที่มีบุตรชายจะนิยมประดับบ้านกันด้วยตุ๊กตานักรบซามุไร ซึ่งสวมเสื้อเกราะ และใส่หมวกเกราะ เพื่อเป็นการอวยพรให้เด็กผู้ชายมีความแข็งแรงและสง่างามเหมือนนักรบ รวมถึงประดับด้วยธงปลาคาร์พ (Koi-nobori)“โคอิโนโบหริ” ซึ่งทำจากกระดาษหรือผ้าขนาด 1-2 เมตร นำไปแขวนตกระเบียง ปลาคาร์พสีดำหมายถึงพ่อ “ฮิโกอิ” สีแดงหมายถึงแม่ ตามด้วยปลาคาร์พเล็กๆ ขนาดลดหลั่นกันไปตามจำนวนลูกชายในบ้านซึ่งจะมีทั้งสีฟ้าและสีเขียว ในประเทศญี่ปุ่น ปลาคาร์ฟ เป็นปลาทีมีชื่อเสียงในลักษณะที่มีความพยายามในการมีชีวิตอยู่ และสามารถว่ายน้ำทวนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวได้ การตกแต่งจะมี “มาโกอิ” และ “ฟูคินากาชิ” หมายถึง กระแสน้ำ

วันสิ้นปี(Omisoka) 

วันบรรลุนิติภาวะ (Seijin No Hi 成人の日 ) แต่เดิมคือวันที่ 15 มกราคมของทุกปี และได้เปลี่ยนมาเป็นทุกวันจันทร์ที่สองของทุกปี ตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 จะเป็นวันฉลองการบรรลุนิติภาวะของหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นที่อายุครบ 20 ปี ในปีนั้น โดยจะมีการจัดพิธีฉลองขึ้นที่อำเภอของเมืองที่ตนเองอาศัยอยู่ และสาวๆ จะแต่งชุดกิโมโน เรียกว่า "Seijin Shiki 成人式" เป็นวันที่หนุ่มสาวญี่ปุ่นพึงระลึกถึงการเิตบโต ซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบต่างๆ และรู้จักวางแผนชีวิตของตนเอง







เทศกาลทานาบาตะ (Tanabata No Hi 七夕の日)

ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ซึ่งเป็นวันที่มีความเชื่อเกี่ยวกับตำนานของ ดวงดาว 2 ดวง เล่าแบบสั้นๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าในอดีตมีหญิงทอผ้านามว่า “โอริฮิเมะ” พบรักกับ "ฮิโกโบชิ" คนเลี่ยงวัวจนละเลยการทอผ้าให้กับเทพผู้ครองสวรรค์ จึงถูกลงโทษให้พบกันได้เพียงปีละหนึ่งครั้งในวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี ที่ทางช้างเผือกซึ่งเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า "อะมะโนะ คะวะ" โดยจะต้องมีฝูงนกกางเขนมาต่อเชื่อมเป็นสะพานให้ข้ามไปพบกันมิฉะนั้นจะต้องรอ พบกันอีกทีในปีถัดไปจึงเกิดเป็นตำนานรักของดาวหญิงทอผ้า (Orihime織女星) และดาวคนเลี้ยงวัว (Kengyuusei牽牛星) เชื่อว่าเป็นตำนานที่ญี่ปุ่นนำมาจากจีนสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-906) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ชาวญี่ปุ่นเร่มฉลองเทศกาลทานาบาตะโดยเขียนกลอนนำไปแขวนบนต้นไผ่ซึ่งถือว่า เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในอดีตและจะมีการตัดกระดาษเป็นรูปกิโมโนหรือรูปต่างๆ ด้วยกระดาษ 5 สีที่เรียกว่า (Tanzaku 短冊) แล้วนำต้นไผ่ไปลอยน้ำ ปัจจุบันนิยมเขียนคำอธิษฐานบนกระดาษและนำไปแขวนที่ต้นไผ่เกี่ยวกับการขอพร เรื่องการเรียน สุขภาพ ความรัก ฯลฯ และจะมีแห่การเฉลิมฉลองพาเหรดต่างๆกันตามพื้นเมืองซึ่งได้รับความนิยมจากนัก ท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและต่างชาติเป็นจำนวนมากอาทิ จังหวัดเซ็นได คานากาวะ เป็นต้น











     

No comments:

Post a Comment